top of page

ASIA7 (เอเชียเซเว่น) เป็นวงดนตรีที่สามารถนิยามได้หลากหลายแนว อาทิ พ๊อพ แจ๊ส ไทยร่วมสมัย เวิร์ลมิวสิค ไม่ว่า ASIA7 จะถูกเรียกว่าอะไร ทุก ๆ ผลงานของวงจะอบอวลด้วยกลิ่นอายสำเนียงดนตรีพื้นถิ่นเสมอ ด้วยการผสมผสานของสมาชิกทั้งแปด ซึ่งประกอบด้วย สำเนียงการร้องอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ออย (ร้องนำ) เครื่องดนตรีพื้นบ้านจาก ต้น (พิณ, แคน, โหวด) และ โยเย (ซอด้วง, ซออู้) ตลอดจนพาร์ทดนตรีสากลทั้งจัดจ้านและหนักแน่นของ โอม (แซกโซโฟน), สุนทร (กีตาร์), บูม (คีย์บอร์ด), ดิว (เบส) และ โน้ต (กลองชุด) 

จุดเริ่มต้นเริ่มมาจากการชักชวนของ ต้น กับพี่น้องนักดนตรีที่เคยร่วมงานกันในรั้วมหาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากให้เกิดสิ่งใหม่กับวงการดนตรีในประเทศไทย โดยมีส่วนผสมหลักคือ ซอไทย เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ แจ๊ส เกิดเป็น วงดนตรีเฉพาะกิจที่ออกแสดงเป็นครั้งคราว ก่อนที่จะเปิดตัวในฐานะศิลปินอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2559 ที่งาน Thailand International Jazz Conference 

 

ASIA7 ค่อยๆ เติบโตภายหลังจากนั้น จากการเล่นตามร้านอาหาร บาร์ อีเวนท์คอนเสิร์ตเล็ก ๆ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานซิงเกิลของวงออกมาเป็นระยะ (ไม่อาจหายไป, ขวัญเจ้าเอย, สั่งสาว live session, แขกเชิญเจ้า live session) เริ่มออกโปรโมททางสื่อออนไลน์ รายการโทรทัศน์ และคลื่นวิทยุต่าง ๆ ทำให้ชื่อของ ASIA7 เริ่มเป็นที่รู้จักนอกเหนือแวดวงนักดนตรีมากขึ้น

หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการหนึ่งปีครึ่ง ASIA7 ได้ถูกคัดเลือกให้ไปแสดงที่งาน ACC World Music Festival เมื่อปีพ.ศ. 2560 ณ เมืองควังจู สาธารณรัฐเกาหลี นับเป็นครั้งแรกของวงใน เทศกาลดนตรีต่างประเทศ ตามด้วยการเดินทางไปแสดงอีกหลายเวที หลายประเทศภายหลัง ต่อมา อาทิ อินเดีย นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว และมาเลเซีย ซึ่งประสบการณ์จากการเดิน ทางจะถูกสั่งสมทำให้ ASIA7 เติบโตยิ่งขึ้นทั้งผลงานและตัวตนของพวกเขา

ผลงานเพลงของ ASIA7 แบ่งเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ เพลงร้องและเพลงบรรเลง เผยแพร่ แล้วบน Youtube และ Streaming โดยมีทั้งผลงาน music video, studio live session, live performance และมีอัลบั้ม 1 อัลบั้ม ชื่อว่า "EIGHT" (2562 : 11 แทร็ค - สั่งสาว, เซเลเมา, Moon, โอเด, Mystery of Love, แขกเชิญเจ้า, ขวัญเจ้าเอย, Wings, Hanabi City, Love Is Still Beautiful, ไม่อาจหายไป)

นอกจากนี้ ASIA7 ยังมีผลงาน Collaborations Project ร่วมกับศิลปินทั้งไทยและต่างชาติ นับเป็นเรื่องท้าทายความสามารถไม่น้อย แต่ผลงานที่เกิดขึ้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของเสียงดนตรี ที่แม้จะมาจากต่างภาษาแต่สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี โดยมีศิลปินที่เคยร่วมงานกัน อาทิ แม่บานเย็น รากแก่น (ศิลปินแห่งชาติ - หมอลำ) อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (ขลุ่ย) รัสมี เวระนะ (หมอลำรุ่นใหม่) Haruka Kawahigashi (Shamisen - Nagauta / ญี่ปุ่น) A Band Once (Pop-rock / บรูไนดารุสซาลาม) และ Shadow and Light (Indian-Jazz / อินเดีย)

ระหว่างปี พ.ศ.2563 ช่วงที่ประเทศไทยพบวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลาย ๆ สิ่งเป็นอันต้องหยุดชะงัก รวมถึง ASIA7 เองก็ไม่สามารถออกแสดงดนตรีได้ดังก่อนหน้า ณ เวลานั้น โอม Cocktail ผู้บริหารค่ายเพลง GeneLab ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของบริษัท GMM Grammy ได้ติดต่อมาเพื่อชักชวนให้เข้าร่วมโครงการ GMM Grammy Audition เพื่อหาศิลปินหน้าใหม่ ทางวงได้ตอบรับและเข้าร่วมโครงการ ส่งผลให้ ASIA7 ได้สิ้นสุดสถานะศิลปินอิสระ และเปิดตัวในฐานะศิลปินสังกัดค่ายเพลง GeneLab ด้วยเพลง กล่อม (Lullaby) ตามด้วยซิงเกิลต่าง ๆ อาทิ ถ้าเธอคิดถึงใคร (If You...) จำขึ้นใจ (Unforgettable) เจ้าความรัก (Yearning) ลืม (Fade Away) และปล่อยอัลบั้มเต็มออกมาที่มีชื่อว่า นักแสวงโชค (The Seeker) (2565 : 9 แทร็ค - Intro, นักแสวงโชค (The Seeker), ถ้าเธอคิดถึงใคร (If You...), ลืม (Fade Away), จำขึ้นใจ (Unforgettable), ยานอนไม่หลับ (Oneirophobia), เจ้าความรัก (Yearning), ซ่อนหา (Hide and Seek), กล่อม (Lullaby) )

ASIA7 can be defined in many ways, such as Thai contemporary, fusion, jazz, pop and world music, but they breathe life into every genre they touch. The band has an Asian-ness at the heart of every song. There are eight members which consist of voice, saw (Thai fiddle), Isan folk instruments, saxophone, guitar, keyboard, bass and drum set.

 

The band originated with the persuasion of Tontrakul and friends from Mahidol University in 2013 with the determination to bring novelty to the music industry in Thailand. The main ingredients are Thai fiddles and Isan instruments with electronic embellishments and jazz arrangements. After a long infancy as an ad hoc band that occasionally performed, ASIA7 officially debuted in 2016 at the Thailand International Jazz Conference. 

ASIA7 gradually grew as a live band playing in restaurants, bars, events, and small concerts. They have been busy in the studio as well, releasing the singles ไม่อาจหายไป (Still), ขวัญเจ้าเอย (Kwan Chao Aeuy), สั่งสาว (Sang Sao) live session, and แขกเชิญเจ้า (Khak Chern Jao) making the name of ASIA7 to be known beyond the musician's circle.

In
2017, ASIA7 was selected to perform at the ACC World Music Festival in Gwangju, South Korea, followed by two and a half years of touring throughout countries such as India, Norway, Philippines, Singapore, Laos and Malaysia. This extensive touring has strengthened ASIA7 to grow both in their work and their identity.

In the studio, the band began by focusing on singles—producing videos for (Kwan Jao Aeuy, Oh Dear, Love Is Still Beautiful) as well as video recordings of many live performances. May 2019, the first full-length album called "EIGHT" is released containing the singles: สั่งสาว (Sang Sao), เซเลเมา (Selemao), Moon, โอเด (Oh Dear), Mystery of Love, แขกเชิญเจ้า (Khak Chern Jao), ขวัญเจ้าเอย (Kwan Jao Aeuy), Wings, Hanabi City, Love Is Still Beautiful, and ไม่อาจหายไป (Still). Their entire catalogue is split quite evenly between instrumental and vocal music.


ASIA7 constantly collaborates with Thai and foreign artists. This can be challenging but the resulting work attests to the miracle of music that can break through the borders between languages and cultures. But can communicate well. By artists that have collaborated, such as Banyen Rakkaen (Thailand), Thanis Sriklindee (Thailand), Rasmee Wayrana (Thailand), Haruka Kawahigashi (Japan), A Band Once (Brunei Darussalam), Shadow and Light (India) and Nadir (Malaysia).

During 2020, ASIA7 refrained from performing and entered GMM Audition for new artists to join music companies under GMM Grammy affiliation. This audition ended ASIA7’s independent artist status and the band has since been a part of GeneLab Records, and the album "The Seeker (นักแสวงโชค)" is released in 2022, containing the singles: Intro, The Seeker, Fade Away, Unforgettable, Oneirophobia, Yearning, Hide and Seek, and Lullaby.

Fade Away.jpg

INTERNATIONAL PERFORMANCE

- 2023 -

Southeast Asian Directors of Music Congress | Thailand

Chiang Nuea Fest | Thailand

Thailand International Jazz Conference | Thailand

Thailand's Jazz & Pop Festival | Thailand

- 2022 -

Very Festival | Thailand

- 2021 -

Seoul Friendship Festival | Korea (Online)

ASEAN Music Showcase Festival | Thailand (Online)

- 2020 -

Guwahati International Music Festival | Guwahati, India

Bangkok Design Week | Thailand

Thailand International Jazz Conference | Thailand

- 2019 -

Chiang Mai Street Jazz Festival | Chiang Mai, Thailand

Oslo Thai Festival | Oslo, Norway
World Youth Jazz Festival | Kuala Lumpur, Malaysia

Namaste Thailand Festival | New Delhi, India

Delhi International Jazz Festival | New Delhi, Shillong, Guwahati, India

Feb Festival | Laos

Thailand International Jazz Conference | Thailand

 

- 2018 -

Singapore Writers Festival & One Voice: The Best of ASEAN Performing Arts | Singapore

Ulsan World Music Festival & Asia Pacific Music Meeting | Ulsan, Republic of Korea

Holmestrand Kulturfestival | Holmestrand, Norway

Oslo Thai Festival | Oslo, Norway

Namaste Thailand Festival | New Delhi, India

Udaipur World Music Festival | Udaipur, India

 

- 2017 -

ASEAN Music Festival | Manila, Philippines

ASEAN-India Music Festival | New Delhi, Jaipur, India

ACC World Music Festival | Gwangju, Republic of Korea

Hua Hin International Jazz Festival | Thailand

Wonderfruit Festival | Thailand

Thailand International Jazz Conference | Thailand

 

- 2016 -

Thailand International Jazz Conference | Thailand

MEMBER

Aoy.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Lead Singer
Aoy
Amornphat Sermsap
Ton.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Pin, Khaen

Ton
Tontrakul Kaewyong
Yoye.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Saw Duang,
Saw U
Yoye
Narisara Sakpunjachot
Dew.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Bass
Dew
Phoowich Tawasinchanadech
Note.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Drums
Note
Thitirat Dilokhattakarn
Oam.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Saxophone
Oam
Kritamet Kittiboonyatiwakron
Boom.jpg
Keys

Boom
Preeda Kesdee
Suntorn.jpg
  • White LinkedIn Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
Guitar
Suntorn
Suntorn Duangdang
bottom of page